บทเรียนหนึ่งประเด็น One Point Lesson กับการพัฒนาบุคลากรภายในโรงงาน

บทเรียนหนึ่งประเด็น หรือ One Point Lesson เป็นวิธีการหนึ่งในการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์  ภายในโรงงาน สถานประกอบการ ที่ดี ด้วยวิธีการง่ายๆ ไม่ยุ่งยาก สามารถทำได้เองโดยโรงงาน ซึ่งมีข้อดีหลายๆ ประการคือ

  1. สามารถทำได้ง่าย เนื้อหาไม่ยาวเพียงหนึ่งหน้ากระดาษ ประกอบด้วยข้อความ และรูปภาพหรือแผนภูมิและ ตารางหัวท้ายกระดาษ หรือกล่าวได้ว่า มีข้อความที่ต้องเขียนประมาณ ครึ่งหน้ากระดาษเท่านั้น
  2. เป็นกรณีศึกษาของโรงงาน เป็นปัญหาของโรงงานเอง ซึ่งทำให้เห็นปัญหาและนำไปสู่การแก้ไขปัญหาได้ตรงจุด
  3. เป็นเนื้อหาที่แก้ปัญหาการทำงานของโรงงานได้ตรงจุด เราแก้ปัญหานี้ได้อย่างไร ก็มาเขียนไว้ เพื่อใช้ถ่ายทอดให้กับเพื่อนร่วมงาน คนรุ่นใหม่ โดยไม่ต้องรอให้คนรุ่นใหม่เจอปัญหาและสร้างประสบการณ์ให้เขา แต่มาเรียนรู้ประสบการณ์ของพนักงานรุ่นก่อนหน้า เป็นการป้องกัน ลดความน่าจะเป็นในการเกิดปัญหาลงไป
  4. เนื้อหาส่วนใหญ่ที่จะเขียนกันเป็นความรู้ ประสบการณ์ที่ฝังอยู่ในตัวคน (บางทีเรียกว่าความเก๋า) ไม่มีเขียนไว้ในตำรา หรือ ในเอกสารของโรงงาน ซึ่งเรื่องเหล่านี้เป็นสิ่งที่สร้างมูลค่าให้สถานประกอบการ
  5. ใช้เวลาในการจัดทำไม่นาน ไม่ต้องสร้างเป็นบทความยาวๆ ไม่ต้องศึกษาหาความรู้มาสร้าง
  6. ใช้เวลาในการถ่ายทอดไม่นาน เมื่อเนื้อหามีไม่มาก ก็ใช้เวลาในการถ่านทอดไม่มาก และเป็นเรื่องของโรงงาน จึงสร้างความเข้าใจให้พนักงานได้ง่าย
  7. วิทยากรก็เป็นของโรงงานเอง ไม่ต้องไปจ้าง
  8. สร้างความสัมพันธ์ ในกลุ่มงานได้ เพราะใช้เวลาไม่มากในการประชุมช่วงเช้าก่อนทำงาน เพราะการได้มาพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้กัน จะสร้างเสริมบรรยากาศในการทำงานได้ดี และได้ความรู้ไปด้วย
  9. ส่งเสริมภาวะผู้นำให้กับทีมงาน การที่พนักงานระดับปฏิบัติการได้มีโอกาสมาพูดหน้ากลุ่ม จะสร้างให้พนักงนมีความเป็นผู้นำ กล้าแสดงออก ซึ่งเป็นสิ่งที่โรงงานปรารถนาอยู่แล้ว
  10. พัฒนาบุคลากรได้ต่อเนื่อง ทำได้ทุกวัน ไม่ต้องรอจัดอบรม ไม่ต้องรอหน่วยงานภายนอก
  11. เมื่อจัดทำ และมีการเก็บรวบรวมไว้มากๆแล้ว ก็เป็นแหล่งความรู้ นำมาจัดการความรู้ภายในองค์กรได้ ทำ KS KM ได้ตามที่โรงงานหลายๆแห่งต้องการให้โรงงานเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้

.

ท่านสามารถดูตัวอย่างและอ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ลิ้งค์ด้านล่้าง

ตัวอย่างบทเรียนหนึ่งประเด็น

บทความ_ บทเรียนหนึ่งประเด็นจากสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ